สู่เสียงสะท้อนแห่งความสำเร็จ
ของบุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ
การคืนสถานะและสิทธิให้คนไทยกว่า 5 แสนคน
ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ได้รับสิทธิ
การรักษาพยาบาลฟรี ดีใจทั้งครอบครัวเลยครับ
ช่วยให้คนรอพิสูจน์สิทธิอย่างหนู ได้เข้าถึงสิทธิ
การรักษา มีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เป็นสิ่งสําคัญที่สุดในชีวิตค่ะ
เมื่อก่อนการไปโรงพยาบาลเป็นเรื่องยาก
เพราะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย พอมีกองทุนนี้เข้ามา
ตอนนี้ผมหมดห่วง หมดกังวลแล้วครับ
ฉันเองไม่เคยไปลงทะเบียนรับสิทธิที่ไหน
แต่พอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
ถึงรู้ว่าได้รับสิทธิตัวนี้ ดีใจมากๆ ค่ะ
หากเกิดโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ห่างไกล การป้องกัน
และรักษาที่รวดเร็ว จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ
ลดป่วย ลดตาย ซึ่งต้องขอบคุณกองทุนนี้มากๆ ค่ะ
บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
กับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข
ต้องอดทน
อีกนาน
แค่ไหน
?
ถึงแม้ประเทศไทยได้ขยายหลักประกันสุขภาพ
ครอบคลุมคนไทยทุกคน ตั้งแต่ปี 2545
แต่ความเป็นจริง
พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2545 ให้สิทธิครอบคลุมเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น
ปี 2545
ประชากรไทยกว่า 61 ล้านคน ได้รับ สิทธิขั้นพื้นฐานจาก
ที่มา: หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2545 - 2546 (โครงการติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่สอง (2546-2547) รายงานวิจัยเล่มที่ 1)
ยังมีคนในประเทศไทยไร้สิทธิขั้นพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข อีกจำนวนมาก เชื่อหรือไม่
คนไทยที่ไม่ได้รับสิทธิ พื้นฐานด้านสาธารณสุข กว่า 500,000 คน
แผนภาพการกระจาย ของบุคคลที่มีปัญหา สถานะและสิทธิ ตามจังหวัดต่างๆ ปี 2553
ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 18 มกราคม 2553
Province
รู้หรือไม่? คนไร้สิทธิต้องลําบากมากแค่ไหน
ขาดการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรค
ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรค
ไม่ได้รับการบำบัดและ บริการทางการแพทย์
ขาดการเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ ที่เหมาะสม รวมทั้งนวัตกรรม ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ไม่ได้สิทธิการตรวจ และรับฝากครรภ์
ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น
5 เหตุผลของการผลักดันนโยบายคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข
การคืนสิทธิให้แก่ผู้ที่เคยได้รับสิทธิ แต่ถูกตัดสิทธิจาก พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2545 ข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าด้วยการให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข กับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติ อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็ก เป็นต้น ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา สถานะและสิทธิของบุคคล ปี 2548 จะต้องคืนสิทธิพื้นฐานแก่ บุคคลที่มีปัญหาสถานะ และสิทธิทุกกลุ่ม การควบคุมและป้องกันโรค หากไม่ได้รับการรักษา จะเป็นแหล่งแพร่กระจาย โรคติดต่อต่างๆ ได้ ลดภาระหนี้สินของโรงพยาบาล ที่ต้องดูแลคนกลุ่มนี้ เพราะไม่ได้รับงบประมาณ สนับสนุน
ให้กับบุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ ทั้งคนไทยที่ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมถึง ชนกลุ่มน้อยและผู้หลบหนีเข้าเมืองไร้สิทธิ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม รัฐบาลได้ทุ่มเท เพื่อการสร้างสิทธิขั้นพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข
เส้นทางแห่งความพยายาม
ส่วนหนึ่งได้รับสิทธิในโครงการสวัสดิการประชาชน ด้านการรักษาพยาบาล ถูกถอดชื่อจากผู้มีสิทธิ 200,000 กว่าคน เนื่องจากข้อจำกัด ของ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ให้สิทธิเฉพาะบุคคล ที่มีสัญชาติไทย บางส่วนซื้อบัตรสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข โดยสมัครใจ ส่วนหนึ่งได้รับสิทธิภายใต้โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค โดยหน่วยบริการลงทะเบียนกลุ่มนี้ที่เคยได้รับสิทธิ ในโครงการสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล หลังปี 2543 ปี 2518 ปี 2524 23 พ.ย. 2543
เส้นทางแห่งความพยายาม
เริ่มบรรจุเรื่องการให้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แก่กลุ่มบุคคลที่ถูกถอดสิทธิ แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบ จากประธาน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (นายพินิจ จารุสมบัติ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ “ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะ และสิทธิของบุคคล” ตามที่สำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (นายวิทยา แก้วภราดัย) ยืนยันมติและนำเรื่องสู่ คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้ เสนอเรื่องสู่คณะรัฐมนตรี แต่ไม่ผ่านคณะรัฐมนตรีกลั่นกรอง (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) ด้วยเหตุผลความมั่นคง 16 ก.พ. 2552 17 ม.ค. 2548 18 ม.ค. 2548 28 พ.ย. 2549
เส้นทางแห่งความพยายาม
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์) นำเรื่องเสนอ คณะรัฐมนตรี โดยปรับรายละเอียดเพื่อความ เหมาะสม พร้อมจัดกลุ่มคนใหม่ให้สอดคล้อง กับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สปสช. ถอนเรื่องมาทบทวนก่อนนำเรื่องสู่ การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณมีความเห็นให้มีการศึกษา และพิจารณาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ 25 ก.พ. 2553 3 ก.ค. 2552 30 มิ.ย. 2552
รัฐบาลมีมติเห็นชอบให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้ทุกคน โดยครอบคลุมถึง การส่งเสริมสุขภาพ ทั้งการรักษา ฟื้นฟู ป้องกัน และด้านสาธารณสุขในทุกๆ มิติ
ID ขึ้นต้นด้วย 5, 8
เพิ่มโอกาส การมีสุขภาพดี มากขึ้น
ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดสรร งบประมาณแก่กองทุนให้บริการด้านสาธารณสุข กับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดยครอบคลุม การให้บริการด้านการสร้างสุขภาพ การป้องโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยในปี 2563 จัดสรรจํานวน 2,567.5 บาท/คน/ปี คิดเป็นงบประมาณรวม 1,471.8 ล้านบาท
แผนภาพจำนวนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ปี 2553 - 2563
จำนวนผู้มีสิทธิ (คน) 100,000 0 200,000 300,000 400,000 500,000 600,000 700,000 800,000 900,000 457,409 452,553 446,492 461,975 507,645 825,153 789,519 558,334 557,324 574,618 547,160 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563
ปีงบประมาณ (พ.ศ.)
ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563
แผนภาพการกระจายของบุคคล ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตามจังหวัดต่างๆ ปี 2563
บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ได้กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมี 10 จังหวัดที่มีอาศัยอยู่มากที่สุด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี กรุงเทพมหานคร ตราด ประจวบคีรีขันธ์
จํานวนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
ที่มา: กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563
แผนภาพปิรามิดประชากรบุคคล ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ปี 2563
849 401 756 1,271 2,119 3,031 4,660 7,432 11,724 15,614 20,605 26,700 25,829 21,900 19,125 21,929 24,858 23,957 14,331 12,356 7,061 อื่นๆ 95 - 99 ปี 90 - 94 ปี 85 - 89 ปี 80 - 84 ปี 75 - 79 ปี 70 - 74 ปี 65 - 69 ปี 60 - 64 ปี 55 - 59 ปี 50 - 54 ปี 45 - 49 ปี 40 - 44 ปี 35 - 39 ปี 30 - 34 ปี 25 - 29 ปี 20 - 24 ปี 15 - 19 ปี 10 - 14 ปี 5 - 9 ปี 0 - 4 ปี 490 330 596 1,114 1,995 2,908 4,291 6,790 10,779 13,833 17,938 22,968 25,269 24,294 20,455 21,876 24,096 23,590 13,441 11,376 6,782 เพศชาย เพศหญิง
เปรียบเทียบช่วงอายุของบุคคลที่มีปัญหา สถานะและสิทธิ ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 99 ปีขึ้นไป โดยช่วงอายุที่มีจํานวนคนไร้สิทธิ มากที่สุด แบ่งเป็นชาย ช่วงอายุ 45 - 49 ปี และหญิง ช่วงอายุ 40 - 44 ปี
ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563
แผนภาพงบประมาณกองทุนให้บริการด้านสาธารณสุข กับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ปี 2553 - 2563
งบประมาณ (ล้านบาท) 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 200.0 0 400.0 600.0 800.0 1,000.0 1,200.0 1,400.0 1,600.0 348.0 918.1 433.6 863.7 973.3 973.3 1,279.6 1,319.6 1,305.2 1,479.9 1,471.8
ปีงบประมาณ (พ.ศ.)
ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563
การจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ปี 2563 ให้แก่บุคคลที่มีปัญหา สถานะและสิทธิ จํานวน
2,567 บาท/คน/ปี
ครอบคลุมการบริการเหล่านี้
และกำลังดำเนินการจัดสรรเพิ่ม จำนวน 344 บาท/คน/ปี เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาในด้านอื่นเพิ่มขึ้น
อัตราการใช้บริการผู้ป่วยในของบุคคล ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2553 ถึงปี 2562 เฉลี่ย 0.31 ครั้ง/คน/ปี เมื่อเทียบกับผู้เข้ารับบริการตามระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เฉลี่ย 0.12 ครั้ง/คน/ปี แนวโน้ม การใช้บริการสูงขึ้น
เงื่อนไขความคุ้มครองและสิทธิการรักษา ความแตกต่าง
เงื่อนไขความคุ้มครองและสิทธิการรักษา ความแตกต่าง
ความท้าทาย
ยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุข
กับบุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ
5 จัดตั้งกองทุนควบคุมโรคตามแนวชายแดน โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาความมั่นคง 4 จัดตั้งอาสาสมัครสาธารณสุขชายแดน ( อสช. ) โดยกลุ่มชาติพันธุ์ 3 ปรับปรุงระบบเบิกจ่ายและระบบสนับสนุนเพื่อลดภาระผู้ปฏิบัติงาน 2 พัฒนาการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 1 ขยายสิทธิประโยชน์ให้เท่าเทียมกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เน้นการบริหารเชิงรุก และลดอุปสรรคการเข้าถึงบริการ เช่น ภาษาในการสื่อสาร
เสียงบอกเล่า
ของบุคคลที่มีปัญหา
ด้านสถานะและสิทธิ
10 ปี
แห่งความพยายาม
(พ.ศ. 2553 - 2563)
ความสําเร็จอีกขั้น
ของระบบหลักประกัน
สุขภาพไทย
ข้อมูลอ้างอิง
1. National Health Security Act. In: Gazette RTG, editor. Bangkok: Cabinet and Royal Gazette Publishing Office; 2002. p.1.
2. Pongsadhorn Pokpermdee, Natnaree Khingchatturat, Wanwisa Pensuriya. The Improving for Accessing to Care and Quality of Care of People with Citizenships Problems Scheme (in Thai). Nonthaburi : Thai Health Foundation, 2020.
3. Pongsadhorn Pokpermdee, Expanding Health Care Coverage for People with Citizenship Problems (Stateless Minority) : A Step Forward for Health Insurance in Thailand (in Thai). Journal of Health Systems Research. 2011; 5(3) : 85-98.
4. Carbinet Resolution. Expanding Health Care Coverage for People with Citizenship Problems (Stateless Minority). In : The Secretariat of the Cabinet, editor. Bangkok : The Secretariat of the Cabinet; 23 March 2005.
5. Carbinet Resolution. Expanding Health Care Coverage for People with Citizenship Problems (Stateless Minority) additional (in Thai). In : The Secretariat of the Cabinet, editor. Bangkok : The Secretariat of the Cabinet; 20 April 2015.
6. Carbinet Resolution. Expanding Health Care Coverage for People with Citizenship Problems (Stateless Minority) additional (in Thai). In : The Secretariat of the Cabinet, editor. Bangkok : The Secretariat of the Cabinet; 10 April 2020.
7. Carbinet Resolution. Expanding Health Care Coverage for People with Citizenship Problems (Stateless Minority) additional (in Thai). In : The Secretariat of the Cabinet, editor. Bangkok : The Secretariat of the Cabinet; 22 September 2020.
8. Jumpol Poolpatarachevin. Future Research Study (in Thai). Thailand Research Expo 2016; Bangkok 2016.
9. Division of Health Economics and Health Security. Handbook of People with Citizenship Problems Health Scheme (in Thai). In : Office of Permanent Secretary, editor. Nonthaburi: Division of Health Economics and Health Security 2020.
10. Division of Health Economics and Health Security. The Number of People with Citizenship Problems (in Thai). Nonthaburi: Office of Permanent Secretary, 2020.
11. National Health Security Office. Report on Achieving Universal Coverage in Thailand (in Thai). In : National Health Security Office, editor. Bangkok 2018.
12. National Health Security Office. Handbook of Health Security Office 2019 (in Thai). In : National Health Security Office, editor. Bangkok: Sangchon Publishing; 2019.
Share